1: บทนำ

1.1 ความหมายและความสำคัญของ Critical Thinking

Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ คือทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลและมีหลักการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลหรือสถานการณ์ที่นักเรียนเผชิญหน้า โดยไม่รีบสรุปผลลัพธ์แบบทันที แต่นักเรียนจะใช้เวลาในการพิจารณาข้อมูลอย่างรอบคอบ วิเคราะห์เหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง และตั้งคำถามเพื่อหาความจริงที่อยู่ในสิ่งที่นักเรียนกำลังพิจารณา

ตัวอย่างเช่น แทนที่นักเรียนจะเชื่อข้อมูลบางอย่างทันทีเพียงเพราะมีคนบอก นักเรียนจะตรวจสอบข้อมูลนั้น วิเคราะห์ว่ามีเหตุผลหรือหลักฐานที่น่าเชื่อถือหรือไม่ และอาจมีมุมมองอื่น ๆ ที่นักเรียนควรพิจารณาเพิ่มเติมไหม

ทักษะนี้ช่วยให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบ ไม่โดนความรู้สึกหรือความคิดเห็นส่วนตัวครอบงำ และช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ดีขึ้นในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น เมื่อได้รับข่าวสารจากแหล่งข้อมูลใหม่ นักเรียนจะต้องไม่เชื่อทันที แต่ควรคิดวิเคราะห์ว่าข่าวนั้นมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ มีหลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนเพียงพอหรือไม่

Critical Thinking Skills ถือว่าเป็นส่วนสำคัญใน STEM Education อย่างมาก เพราะ STEM Educationเน้นการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์อย่างมีเหตุผล

ใน STEM Education นักเรียนจะถูกกระตุ้นให้ใช้ Critical Thinking Skills ในการทำงานกลุ่ม แก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือการออกแบบวิศวกรรมและเทคโนโลยี เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์ หรือการออกแบบโครงการทางวิศวกรรมที่ต้องใช้การวางแผนและการประเมินทางเลือก

การใช้ Critical Thinking Skills ใน STEM ช่วยให้นักเรียนสามารถ:

  • คิดอย่างเป็นระบบเมื่อเผชิญกับข้อมูลที่ซับซ้อน
  • ประเมินและท้าทายสมมติฐานเดิม ๆ
  • สร้างทางเลือกที่มีเหตุผลมากขึ้นในการแก้ปัญหา
  • สะท้อนกลับและพัฒนาความสามารถในการคิดของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้น Critical Thinking Skills เป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ทาง STEM และเป็นสิ่งที่ครูมักจะส่งเสริมให้นักเรียนฝึกฝนอยู่เสมอ

คำถามกระตุ้นความคิด

คำถามที่ 1: สมมติว่านักเรียนได้ยินข่าวจากสื่อหนึ่งว่ามีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นในเมือง นักเรียนควรทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าข่าวนั้นเป็นความจริง?
คำถามที่ 2: เมื่อทำการทดลองวิทยาศาสตร์ นักเรียนพบว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตรงกับที่นักเรียนคาดหวังไว้ นักเรียนจะวิเคราะห์เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังผลลัพธ์นั้นอย่างไร?

เพิ่มเติม:

ให้นักเรียนเขียนสั้น ๆ ว่าในชีวิตประจำวันของพวกเขา เคยมีเหตุการณ์ไหนที่พวกเขาต้องใช้การคิดวิเคราะห์บ้าง และพวกเขาจัดการสถานการณ์นั้นอย่างไร


แนวทางของคำถามที่ 1:
ในการตรวจสอบข่าวที่ได้ยินมา นักเรียนควรหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ที่มีมาตรฐาน หรือสอบถามจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจเชื่อ

แนวทางของคำถามที่ 2:
เมื่อผลลัพธ์การทดลองไม่ตรงกับที่คาดไว้ นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์โดยกลับไปตรวจสอบขั้นตอนการทดลองว่ามีข้อผิดพลาดหรือปัจจัยที่ไม่ได้คำนึงถึงหรือไม่ และใช้ข้อมูลนั้นในการปรับปรุงการทดลองใหม่